สาระสำคัญ
หลังจากการประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์เรียบร้อยแล้ว ขั้นตอนต่อไปก่อนทำการติดตั้งโปรแกรม คือ การกำหนดค่าในไบออส (BIOS) โดยปรับแต่งให้เหมาะสมกับฮาร์ดแวร์ที่ติดตั้งบนแผ่นเมนบอร์ด เพื่อให้เครื่องทำงานได้อย่างมีเสถียรภาพ หลังจากนั้นก็จะดำเนินการแบ่งฮาร์ดดสก์ออกเป็นส่วย่อยๆ เรียกว่าพาร์ติชัน (Partition) เพื่อให้เหมาะสมต่อการใช้งาน
เรื่องที่จะศึกษา
- ความหมายของไบออส
- การตั้งค่าในไบออส
- รายละเอียดของเมนูต่างๆ
- การปรับปรุงไบออส
- การแบ่งพาร์ติชันด้วย FDISK
จุดประสงค์การเรียนรู้
1. อธิบายความหมายและความสำคัญของไบออสได้
2. บอกวิธีในการตตั้งค่าในไบออสได้
3. บอกรายละเอียดของเมนูต่างๆ ในไบออสได้
4. บอกขั้นตอนวิธีในการปรับปรุงไบออสได้
5. สามารถตั้งค่าในไบออส และแบ่งพาร์ติชันด้วย FDISKได้
การ Set BIOS เบื้องต้น
ในส่วนของการ Set BIOS ผมจะสอนแบบเบื้องต้นเพื่อให้Setค่าต่างๆเป็น เพื่อใช้ในการติดตั้ง windows ทั้ง XP และ Vista นะครับ
วิธีการ Set BIOS ก็มีดังนี้
หลังจากเปิดเครื่องให้เราทำการกดปุ่ม F2 (เครื่องผมเป็น NB ของ ASUS ถ้าเป็นยี่ห้ออื่น อาจจะเป็นปุ่มอื่นนะครับเช่น F8,F10)หรือ Del สำหรับ PC ประกอบทั่วไป ก็จะได้หน้าตา BIOS ดังรูปครับ(อาจจะไม่เหมือนกันทั้งหมดนะครับเพราะแต่ละรุ่นจะแตกต่างกันออกไป ให้เอาไว้เป็นแนวทางสำหรับคนที่ใช้รุ่นอื่นอยู่นะครับ)
- ส่วนต่างๆของBios ก็จะมี Main, Advanced, Display, Security, Power, Boot, Exit (ใช้ Key ลูกศรเลื่อนซ้าย ขวา ครับ)
- Main จะใช้ดูspecเครื่องของเราและใช้ในการปรับแต่งวันที่ เวลาครับ
- Advanced ที่สำคัญจะอยู่ที่ IDE Configuration เพราะใช้เลือกเพื่อการติดตั้ง XP ครับ
- Enter ที่ IDE Configuration จะได้ดังรูปครับ ถ้าจะติดตั้ง XP ต้องเปลี่ยนจาก Enhanced เป็น Compatible ครับ
- Security เป็นส่วนในความปลอดภัยครับ แต่ถ้าไม่จำเป็นก็ไม่น่าจะตั้งนะครับเพราะถ้าจำไม่ได้จะต้องรื้อเครื่องเลยนะครับ
- Boot ตรงนี้เป็นส่วนที่สำคัญอีกจุดหนึ่ง เพราะใช้ในการตั้ง Boot จากแผ่น CD,DVD เพื่อใช้ในการติดตั้ง Windows นะครับ
- ให้เลือกตรง Boot Device Priority ครับ จะได้ดังรูป ถ้าต้องการให้ Boot CD/DVD ก็ให้ Enter ที่ 1st Boot Devicec แล้วเลือก CD/DVD ครับ
- Exit เป็นส่วนของการออกจาก Bios ครับให้เลือก Save Changes and Exit ครับ แต่ช่างส่วนใหญ่จะกดปุ่ม F10 กันจะได้ดังรูปข้างล่างครับ
- การSet Bios ที่สำคัญๆ ก็จะมีประมาณนี้นะครับ หวังว่าน่าจะทำกันได้นะครับ ขอบคุณที่เข้ามาศึกษาหาความรู้ครับ
วิธีการแบ่งพาร์ทิชั่น
1. ขั้นแรก ต้องสร้างพาร์ติชั่นที่เป็น Primary DOS Partition ก่อน โดยถ้าหากจะแบ่งเป็นไดร์ฟเดียว ก็เลือกตรงนี้ให้มี
ขนาดเป็น 100% ได้เลย แต่ถ้าหากต้องการแบ่งให้เป็นหลาย ๆ ไดร์ฟ ก็กำหนดขนาดไปตามต้องการ
2. ต่อไป ต้องสร้าง Extended DOS Partition โดยกำหนดขนาดให้เท่ากับพื้นที่ ที่เหลือจากข้อ 1. ครับ ตรงนี้จะยัง
ไม่ใช่ไดร์ฟหรือพาร์ทิชั่นตัวที่สอง แต่จะเป็นการกำหนดพื้นที่สำหรับ พาร์ทิชั่นตัวที่สองหรือตัวถัดไปเท่านั้น
3. ทำการสร้าง Logical DOS Drive(s) ขึ้นมาอีกครั้ง (ซึ่งจะใช้พื้นที่ของ Extend DOS Partition ที่ได้สร้างไว้แล้ว) โดยตรงนี้จะกำหนดขนาดของพาร์ติชั่นที่ต้องการสำหรับไดร์ฟถัดไป เช่นอาจจะกำหนด ให้ใช้พื้นที่ที่เหลือยู่ทั้งหมด เป็นอีกไดร์ฟหนึ่ง ก็เลือกขนาดเป็น 100% แต่ถ้าหากต้องการแบ่งย่อยขนาดลงไป ก็ต้องสร้าง Logical DOS Drive(s) ให้มีขนาดย่อย ๆ ตามต้องการ
ยกตัวอย่างเช่น สมมติว่าฮาร์ดดิสก์ขนาด 20G. ต้องการแบ่งเป็น 3 พาร์ติชั่น โดยมีขนาดเป็น 5+5+10 จากข้อ 1.
ก็ต้องสร้าง Primary DOS Partition ขึ้นมาขนาด 5 G ก่อน แล้วค่อยสร้าง Extended DOS Partition ขนาด 15 G
ที่เหลือ จากนั้นค่อยทำการสร้างเป็น Logical DOS Drive(s) โดยกำหนดให้มีขนาด 5G. และ 10G. ตามลำดับครับ
การใช้คำสั่ง Fdisk นั้นเป็นคำสั่งที่มาจากแผ่น Startup disk เราสามารถสร้างได้ Windows 98 จากนั้นเราทำการใส่แผ่นไปที่ไดร์ฟ A: พร้อมเปิดเครื่อง ๆ จะทำการอ่านแผ่นแล้วเข้าไปที่ A:\ เราก็ทำการพิมพ์คำสั่ง Fdisk ลงไปจากนั้นทำการกดปุ่ม Enter เมื่อ Enter เข้าไปแล้วจะปรากฎดังรูป
- ขั้นตอนนี้เครื่องจะให้เราตอบ Y/N ถ้าตอบ Y หมายถึง จะใช้กับฮาร์ดดิสก์ที่มีเนื้อที่มากกว่า 512 MB ซึ่งก็เท่ากับทำ
- เป็นแบบ FAT 32 แต่ถ้าตอบ N จะเป็นการสร้างพาร์ทิชั่นแบบ FAT 16 ในขั้นตอนนี้ให้ตอบ Y
- เมื่อเราทำการตอบ Y จะปรากฎหน้าจอของ Fdisk Options ซึ่งเป็นการแสดงเมนูหลักประกอบไปด้วย 4 หัวข้อ แต่
- ถ้าเรามีการต่อฮาร์ดดิสก์เพิ่มอีกตัวเป็น หน้าจอก็จะมี 5 หัวข้อ ซึ่งหัวข้อที่ 5 ก็คือให้เราเลือกได้ว่าจะทำไดร์ฟไหนนั้นเอง ขั้น
- ตอนนี้ให้เลือกหัวข้อที่ 4 เพื่อดูเนื้อที่และจำนวนไดร์ฟว่ามีการแบ่งพาร์ทิชั่นไว้กี่ไดร์ฟ
- จากรูปในเมื่อเราเลือกหัวข้อที่ 4 ก็จะแสดงรายละเอียดของฮาร์ดดิสว่ามีรูปแบบการใช้งานต่าง ๆ และรูปแบบการแบ่ง
- พาร์ทิชั่น แต่รูปในที่นี้เป็นการแสดงผลของฮาร์ดดิสที่ยังไม่ได้มีการแบ่งพาร์ทิชั่นจีงไม่มีข้อมูลให้เราเห็น เมื่อเราทำการดู
- รายละเอียดของฮาร์ดดิสแล้วให้กดปุ่ม ESC เพื่อกลับเมนูหลัก
- เมื่อเรากดปุ่ม ESC ก็จะแสดงหน้าเมนูหลักอีกครั้ง ต่อไปให้เรากดเลือกเมนูที่ 3 เพื่อเข้าสู่หน้าเมนูการลบพาร์ทิชั่น
- จากการเลือกเมนู 3 จะเข้าสู่หน้าจอการลบพาร์ทิชั่น ซึ่งประกอบไปด้วย 4 หัวข้อ ความหมายมีดังนี้
- Primary DOS Partition เป็นพาร์ติชันหลักของฮาร์ดดิสก์
- Extended DOS Partition เป็นพาร์ติชันถัดไปของฮาร์ดดิวก์
- Logical DOS Drive(s) จะเป็นการกำหนดขนาดต่าง ๆ ที่อยู่ใน Extended DOS Partition อีกที ซึ่ง
สามารถกำหนดการสร้างได้หลาย ๆ Drive ตามต้องการ
- Non-DOS Partition เป็นพาร์ติขันในระบบอื่น ๆ ที่ไม่ใช่ระบบของ DOS
ในการลบพาร์ทิชั่นนั้นเราต้องลบห้องในสุดก่อนแล้วไล่ลำดับกันจนถึงห้องใหญ่สุด ในความหมายก็คือ ก่อนอื่นเราต้อง
ทำการลบจาก Logical DOS Drive ก่อนต่อมาลบที่ Extended Dos Partition และสุดท้ายทำการลบที่ Primary
Dos Partition ตามลำดับจนหมด
- เมื่อเราทำการลบพาร์ทิชั่นข้อมูลที่มีอยู่จะหายไปจึงมีคำถามว่าพาร์ทิชั่นที่จะลบคือพาร์ทิชั่นที่เท่าไร และถามว่าพาร์ทิชั่นชื่อว่าอะไร พร้อมทั้งให้เรายืนยันว่าจะลบหรือไม่ ขั้นตอนนี้เราต้องระวังและแน่ใจว่าจะทำการลบพาร์ทิชั่นจริง ๆ ถ้าไม่แน่ใจให้ตอบ N ไปก่อน แต่ในที่ให้ตอบ Y เพื่อว่าต้องการลง
- หน้าจอเมนูการสร้างพาร์ทิชั่น (เลือกเมนู 1 จากหน้าหลัก) หน้าจอจะประกอบไปด้วยเมนูทั้งหมด 3 เมนู การสร้างการสร้างพาร์ทิชั่นจะใช้วิธีคล้ายกับการลบพาร์ทิชั่นเพียงแต่จะกลับกันตรงที่การ Create พาร์ทิชั่นจะทำการสร้างจากจากพาร์ทิชั่นใหญ่ก่อน คือ 1. Create Primary DOS Partition ก่อน 2. Create Extemded DOS Partition และสุดท้ายสร้าง Create Logical DOS Drive
- เมื่อเริ่มขั้นการ Create Primary DOS Partition จะมีคำถามว่าพาร์ทิชั่นที่ต้องการสร้างจะใช้พื้นที่ทั้งหมดของ ฮาร์ดดิสหรือเปล่าถ้าต้องการให้ตอบ Y และไม่ต้องการเพื่อที่จะกำหนดพื้นที่เองก็ตอบ N ในที่นี้ให้ตอบ N แล้วกดปุ่ม Enter เพื่อเราจะกำหนดพื้นที่เองให้มีไดรฟ์ C: และ D:
- จากขั้นตอนที่แล้วเราจะกำหนดให้ไดรฟ์ C: มีขนาดเป็น 70% เราก็ใส่ 70% ไปช่องที่ถามว่าจะกำหนดเป็นขนาดหรือเปอร์เซ็นต์เท่าไร แล้วกดปุ่ม Enter
- จากนั้นกำหนดพาร์ทิชั่นที่เหลือ คือ Extended DOS Partition โดยเลือกเมนูที่ 2. Careate Extended DOS Partition จากหน้าเมนู Careate Partition (กลับสู่หน้าจอปุ่ม ESC) ซึ่งกำหนดเป็น 30% ของที่เหลืออยู่แล้ว จากนั้นกดปุ่ม Enter
- เมื่อเราสร้าง Extended DOS Partition แล้วจะปรากฎหน้าจอดังรูป
- ในส่วนของ Logical Drive จะเป็นการสร้างขึ้นภายในของ Extended DOS Partition อีกที ซึ่งการกำหนด ขนาดของพื้นที่ฮาร์ดดิสก์ ก็กำหนดขนาดตามต้องการ หรือถ้าต้องการแบ่งในส่วนของ Extended DOS Partition ออกเป็นหลาย ๆ Drive ก็สามารถทำการกำหนดแบ่งได้จากส่วนของ Logical Drive นี้
- เมื่อกำหนด Logical Drive เสร็จแล้วเราก็กดปุ่ม ESC เพื่อกลับสู่เมนูหลักดังรูปด้านบน ในขั้นตอนนี้จะมีการแจ้ง ว่าเรายังไม่ได้ทำการ Set Partition ที่จะเป็นตัว Boot ให้เราทำการเลือกเมนูที่ 2. Set active partition แล้วกดปุ่ม Enter
- เมื่อเราเลือกเมนูที่ 2 เพื่อเข้ามา Set Partition ที่จะเป็นตัว Boot จะเห็นหน้าจอ Set Active Partition ให้เรากดปุ่มคีย์บอร์ดเลขเพื่อให้ Primary Partition Dos เป็นตัว Boot เครื่อง แล้วกดปุ่ม Enter และให้กดปุ่ม ESC เพื่อสู่หน้าเมนูหลัก
- จากขั้นตอนที่แล้วเมื่อเรากดปุ่ม ESC เพื่อกลับสู่เมนูหลักให้เรากดเลือกหัวข้อที่ 4. Display Partition Imformation จะปรากฎรายละิเีอียดของจำนวนพาร์ทิชั่น พาร์ทิชั่นที่เราทำการ Set ให้เป็นตัว Boot (Active Partition) และขนาดพื้นที่ทั้งหมดของฮาร์ดดิส
- หลังจากที่ทำการกำหนดและแบ่ง Partition ต่าง ๆ เสร็จเรียบร้อยแล้ว เมื่อออกจากโปรแกรม FDISK จะมีข้อความเตือนว่าให้ทำการ Restart เครื่องคอมพิวเตอร์ใหม่ก่อน การจัดพาร์ติชันต่าง ๆ จึงจะมีผลและทำการ format ฮาร์ดดิส
- การแบ่งพาร์ทิชั่นปกติแล้วไม่จำเป็นต้องทำทุกครั้งไปจะทำต่อเมื่อเราซื้อฮาร์ดดิสมาใหม่ หรือต้องการเคียร์ข้อมูลในฮาร์ดดิสจริง ๆ หรือไม่ก็มีไวรัสเข้ามารบกวน และท่านผู้ควรจำไว้เสมอว่าการ Fdisk จะทำให้ข้อมูลที่มีอยู่ในฮาร์ดดิสนั้นถือล้างไปหมด ควรระมัดระวังในทุก ๆ ขั้นตอน หรือไม่ก็ทำการ Save ข้อมูลไปพักไว้ที่อื่นก่อนจะลงมือทำนะครับ
แบบฝึกหัดหน่วยที่ 5
1. คำว่า Bios ย่อมาจากคำว่า
ก. Basic Input/Output System
ข. Boot setting configuration
ค. Binary off tion
ง. ไม่มีข้อถูก
2. ไบออส มีการส่วนการทำงานกี่ส่วน
ก. 1
ข. 2
ค. 3
ง. 4
3. ไบออสทำหน้าที่อะไร
ก. เก็บข้อมูลต่างๆ
ข. ตรวจสอบด้าน software
ค.ประมวลผล
ง. ตรวจสอบความพร้อมต่างๆ ทางด้านฮาร์ตแวร์
4. เครื่องทั่วไป การเข้าตั้งค่าไบออส ควรกดแป้นใด
ก. กด enter
ข. กด F1 ซํ้าๆ
ค. กด Esc
ง. กด Shift
5. กรณีคอมพิวเตอร์ IBM จะเข้าตั้งค้่าไบออส ควรกดแป้นใด
ก.กด ESC
ข.กด F1 ซํ้าๆ
ค. กด F12
ง. กด F8 ซํ้าๆ
6. การ set Bios ควรทำเมื่อใด
ก. ขณะเครื่องสแตนช์บาย
ข. หลังจากเปิดเครื่องไม่เกิน 3 วินาที
ค. ขณะใช้งานอยู่
ง. ขณะเครื่องอยู่ในโหมด hibernate
7. ความหมายของ system date คือข้อใด
ก.ไม่มีข้อถูก
ข. ใช้ในการปรับแต่งค่าวันที่ของเครื่อง
ค. ใช้ในการปรับแต่งเวลาของระบบเครื่อง
ง. ใช่ตั้งค่าขนาดของดิสก์ไดร์
8. ความหมายของการแบ่งพาร์ติชัน คือข้อใด
ก. แบ่งหน้าที่การทำงานของไดร์ฟ
ข. แบ่งพื้นที่ไดร์ฟเพื่อเก็บข้อมูล
ค.แบ่งพื้นที่เพื่อลง วินโดว์ และเก็บข้อมูล
ง.ถูกทั้ง ก และ ค
9. ระบบปฎิบัตรการ Linux ใช้ระบบโครงสร้างไพล์แบบใด
ก. แบบ FAT16
ข.แบบ FAT32
ค. แบบ EXT3
ง. แบบ NTFS
10. เมนู Boot จะมีรายการให้เลือกกี่รายการ
ก. 1
ข. 2
ค. 3
ง. 4
11. การปรับเปลี่ยนแก้ไขหรือปรับปรุงไบออสหรือเรียกอีกอย่างว่า
ก. ไม่มีข้อถูก
ข. flash Rom
ค. Set Bios
ง. Update Bios
12. โครงสร้างไพล์แบบใดที่มีการเข้ารหัส ไพล์เพือความปลอดภัยของมูล
ก. NTFS
ข. EXT3
ค. FAT32
ง. FAT16
13. โปรแกรมพื้นฐานที่ใช้ในการแบ่งพาร์ติชัน คือข้อใด?
ก. Partition wizard Home Edition
ข. auto cad
ค. smartDrfras
ง. FDISK
14. ส่วนที่ใช้เก็บค่าการติดตั้งของ Bios จะเก็บไว้ในส่วนใด
ก. CMOS RAM
ข. CD-ROM
ค. ไม่มีข้อถูก
ง. DDR RAM
15. โครงสร้างไพล์แบบ NTFS ส่วนใหญ่ใช้ในระบบปฎิบัตรการใด
ก. Windows Server
ข. Liux
ค.Windows
ง. IOS