วันพฤหัสบดีที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2557

หน่วยที่ 11 แนวทางการประกอบธุรกิจ

สาระสำคัญ

          ในบทนี้จะกล่าวถึงแนวทางการประกอบธุรกิจทางด้านคอมพิวเตอร์และด้านอื่นๆ เช่น การวางแผนทางการตลาด การขาย แหล่งที่มาของเงินทุน คุณสมบัติของผู้ประกอบธุรกิจ ปัญหาในการดำเนินการต่างๆ เป็นต้น

เรื่องที่จะศึกษา


  • ความหมายของธุรกิจด้านคอมพิวเตอร์
  • แนวคิดทางการตลาด
  • การวางแผนการตลาด
  • แผนกการขาย
  • แหล่งที่มาของเงินทุน
  • คุณสมบัติของผู้ประกอบการธุรกิจขนาดย่อม
  • ปัญหาในการดำเนินธุรกิจขนาดย่อม
  • ปัญหาใในการดำเนินธุรกิจขนากย่อม
  • การเลือกประกอบอาชีพอิสระ
  • คุณสมบัติของผู้ประกอบอาชีพอิสระ
  • ปัญหาและข้อแนะนำในการประกอบธุรกิจ
จุดประสงค์การเรียนรู้
  1. บอกความหมายของธุรกิจด้านคอมพิวเตอร์ได้
  2. เขียวแนวความคิดทางการตลาดได้
  3. การวางแผนตลาดได้
  4. วางแผนการขายได้
  5. หาแหล่งที่มาของเงินทุนได้
  6. เชียนคุรสมบัติของผู้ประกอบการธุรกิจขนาดย่อมได้
  7. เขียนปัญหาในการดำเนินธุรกิจขนาดย่อมได้
  8. เลือกประกอบอาชีพอิสระได้
  9. เขียนคุณสมบัติของผู้ประกอบอาชีพอิสระได้
  10. เขียนปัญหาและแนะนำผู้อื่นในการประกอบธุรกิจได้
 1.ธุรกิจบริการด้านคอมพิวเตอร์
ลักษณะธุรกิจ
                ธุรกิจบริการด้านคอมพิวเตอร์ คือ การให้บริการหลากหลายที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ เช่น รับซ่อมเครื่องคอมพิวเตอร์ รับประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์ รับทำเว็ปไซด์ E-Commerce รับออกแบบงาน IT ติดตั้งและปรับปรุงโปรแกรม  ให้บริการเช่าเล่น Internet  เป็นต้น

วิธีการจัดตั้งและเริ่มต้นธุรกิจ
การจดทะเบียนจัดตั้งธุรกิจ
ประเภทบุคคลธรรมดา
มีลักษณะเป็นกิจการที่มีเจ้าของเป็นบุคคลธรรมดา คนเดียวหรือหลายคน หรือห้างหุ้นส่วนสามัญ ประเภทไม่จดทะเบียน
                                ผู้ประกอบธุรกิจบริการด้านคอมพิวเตอร์ประเภทบุคคลธรรมดา ไม่ต้องจดทะเบียนพาณิชย์
                                ประเภทนิติบุคคล  บริษัทจำกัด  ห้างหุ้นส่วนจำกัด  ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล 
                                ผู้ประกอบการธุรกิจต้องจดทะเบียนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
                สถานที่ยื่นขอจดทะเบียน
 กรุงเทพฯ  ยื่นขอจดทะเบียน ณ สำนักงานบริการจดทะเบียนธุรกิจ 1 - 7  และส่งจดทะเบียนธุรกิจกลาง 
 สำนักทะเบียนธุรกิจ  กรมพัฒนาธุรกิจการค้า  กระทรวงพาณิชย์
 ต่างจังหวัด  ยื่นขอจดทะเบียน ณ สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัด  ที่ห้างหุ้นส่วนบริษัทมี
 สำนักงานแห่งใหญ่ตั้งอยู่
ค่าธรรมเนียม
                                                จดทะเบียนจัดตั้งห้างหุ้นส่วน
                                -  ผู้เป็นหุ้นส่วนไม่เกินสามคน                                                                             1,000  บาท
-  ผู้เป็นหุ้นส่วนเกินสามคน  ชำระเพิ่มสำหรับจำนวนในที่เกินอีก  คนละ   200  บาท
                                                จดทะเบียนจัดตั้งบริษัทจำกัด
-  จดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิ                                                        500 - 25,000  บาท
-  จดทะเบียนจัดตั้งบริษัทจำกัด                                                           5,000 - 250,000  บาท

ภาษีเงินได้
บุคคลธรรมดา
                                ต้องยื่นขอเป็นผู้มีบัตรประจำตัวผู้เสียภาษีอากรต่อ สรรพากรพื้นที่ ที่ตั้งของสถานประกอบการ
·       ต้องยื่นแบบแสดงรายการชำระภาษี   เงินได้บุคคลธรรมดาประจำปีและครึ่งปี (...90 และ 94)
·       หากมีรายได้เกิน 1,200,000 ต่อปี ต้องยื่นชำระภาษีมูลค่าเพิ่มตามแบบ ภ.. 30
นิติบุคคล
                                ต้องยื่นขอเป็นผู้มีบัตรประจำตัวผู้เสียภาษีอากรต่อ สรรพากรพื้นที่ ที่ตั้งของสถานประกอบการ
·       ต้องยื่นภาษีเงินได้นิติบุคคล ประจำปี และ ครึ่งปี (...50 และ 51)
·       หากมีรายได้เกิน 1,200,000 ต่อปี ต้องยื่นชำระภาษีมูลค่าเพิ่มตามแบบ ภ.. 30

ภาษีป้าย
                                ผู้ประกอบธุรกิจที่ติดตั้งป้ายใหม่ หรือแสดงป้ายใหม่ จะต้องชำระภาษีป้ายต่อเจ้าพนักงาน ภายใน 15 วัน และจะต้องยื่นชำระภาษีป้ายทุกปีที่ยังติดตั้งป้าย
สถานที่ขออนุญาต             
กรุงเทพฯ    ยื่นขอ ณ สำนักงานเขต ที่ป้ายนั้นติดตั้งอยู่
ต่างจังหวัด ยื่นขอ ณ   สำนักงานเทศบาล หรือสุขาภิบาล หรือ องค์การบริหารส่วนตำบล    ซึ่งดูแลพื้นที่ที่ป้ายนั้นติดตั้งอยู่
                                นอกจากนี้ยังมีกฎและระเบียบด้านลิขสิทธิ์ สาธารณสุข สิ่งแวดล้อม สวัสดิการและการคุ้มครองแรงงานที่ต้องถือปฏิบัติ

รายละเอียดการลงทุน
                 ค่าใช้จ่ายสำหรับการลงทุนเริ่มต้น
                จะแตกต่างกันตามขนาดและลักษณะของกิจการจากข้อมูลเฉลี่ยของการสำรวจการลงทุนเริ่มต้นของผู้ประกอบธุรกิจ จำแนกเป็น
·       ตกแต่งอาคาร เฟอร์นิเจอร์และเครื่องใช้สำนักงาน คิดเป็นร้อยละ  33
·       ค่าเครื่องมือสำหรับการให้บริการซ่อมเครื่องใช้ไฟฟ้า คิดเป็นร้อยละ  19  ประกอบด้วย เครื่องคอมพิวเตอร์  เครื่องพิมพ์ และ เครื่องมือช่างที่จำเป็น  เป็นต้น
·       เงินทุนหมุนเวียน คิดเป็นร้อยละ  48 ส่วนใหญ่จะใช้สำหรับการเป็นค่าใช้จ่ายด้านต่างๆ เช่น  เงินเดือน  ค่าวัสดุสิ้นเปลือก ค่าอะไหล่ และค่าบริการสาธารณูปโภค เป็นต้น
                           
                 อัตราผลตอบแทนทางการเงิน
                อัตราผลตอบแทนทางการเงินของธุรกิจบริการด้านคอมพิวเตอร์ ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ เช่น ขนาดของธุรกิจ ทำเลที่ตั้ง ความสามารถในการบริหารธุรกิจ เป็นต้น จากการสำรวจพบว่า   ผลตอบแทนที่ได้รับจากรายได้ทั้งปี ประมาณ ร้อยละ 8.81   ส่วนผลตอบแทนที่ได้จากเงินลงทุนทั้งหมด  ประมาณร้อยละ 8.95 ต่อปี   โดยจะได้รับเงินลงทุนทั้งหมดคืน ภายในระยะเวลาประมาณ 3.9  ปี
                                               
การตั้งราคาและโครงสร้างราคาที่เป็นธรรม
                       ปัจจัยการตั้งราคา
                       ประกอบด้วย
·       ต้นทุน
·       ความยากง่ายของงาน
·       ขนาดและชื่อเสียงของกิจการ
·       ภาวะการแข่งขัน
                       โครงสร้างราคา
      คำนวณโดย ต้นทุน บวกกับ กำไรที่ต้องการ
                       ต้นทุนประกอบด้วย
·       ต้นทุนผันแปร ได้แก่ ค่าเวลาการใช้อินเตอร์เน็ตจากผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต และต้นทุนผันแปรอื่นๆ
·       ต้นทุนคงที่จัดสรร เช่น ค่าเช่าสถานที่ ค่าเช่าเครื่องคอมพิวเตอร์ เงินเดือนพนักงาน ค่าบริการสาธารณูปโภค  ค่าเสื่อมราคาสิ่งปลูกสร้าง เครื่องมืออุปกรณ์  เป็นต้น
               
การบริหาร/การจัดการ
                        โครงสร้างองค์กร
                       ประกอบด้วยงานหลักดังนี้
1.             ด้านการบริหาร มีหน้าที่ความรับผิดชอบในด้านการเงิน บัญชี จัดซื้อ บุคคล ธุรการ ต้อนรับลูกค้า และบริหารงานทั่วไป
2.             ด้านการตลาด มีหน้าที่ในกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับด้านการตลาด
3.             ด้านการให้บริการ มีหน้าที่ความรับผิดชอบในการให้ข้อแนะนำลูกค้า ตรวจเช็คและซ่อมเครื่องคอมพิวเตอร์ เขียนโปรแกรมต่างๆ และทำเว็ปไซด์ เป็นต้น
                 พนักงานและการอบรมพนักงาน
                พนักงาน
-    โดยทั่วไป กิจการจะมีพนักงานประจำจำนวนหนึ่งเพื่อให้บริการในด้านต่างๆ โดยมีจำนวนแตกต่างกันตามแต่ขนาดกิจการ จากการสำรวจพบว่าธุรกิจบริการด้านคอมพิวเตอร์จะจ้างพนักงานประจำมากกว่าการจ้างพนักงานในลักษณะรายวัน
-    ผู้ประกอบกิจการส่วนใหญ่จะไม่จำกัดเพศพนักงานในการทำงาน
-    ผู้ประกอบกิจการส่วนใหญ่จะกำหนดว่าต้องมีวุฒิการศึกษาระดับอาชีวศึกษาขึ้นไป
-    ผู้ประกอบกิจการส่วนใหญ่จะกำหนดว่าพนักงานที่รับเข้าทำงานจำเป็นต้องมีประสบการณ์มาก่อน
การอบรมพนักงาน
                                                โดยปกติจะไม่มีการฝึกอบรม แต่จะเน้นการการให้บริการ เลือกบุคลากรที่มีความชำนาญบุคลิกภาพที่ดี และมีใจรักด้านบริการ
               


วิเคราะห์ข้อดี ข้อด้อย โอกาส และอุปสรรค
                       ข้อดีและข้อด้อย
                ข้อดี
1.             เป็นธุรกิจที่ทำได้ไม่ยาก สำหรับผู้ที่มีความรู้และประสบการณ์ด้านคอมพิวเตอร์
2.             ใช้เงินลงทุนไม่สูงมากนัก
3.             มีโรงเรียนสอนคอมพิวเตอร์เป็นแหล่งเรียนรู้ จำนวนมาก
4.             ให้ผลตอบแทนอยู่ในเกณฑ์ดี
5.             หาบุคลากรได้ไม่ยากนัก
                ข้อด้อย
1.             วิทยาการด้านคอมพิวเตอร์มีความก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว ผู้ประกอบกิจการจำเป็นต้องติดตามอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้สามารถให้บริการแก่ลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ
2.             เครื่องมืออุปกรณ์ด้านคอมพิวเตอร์ล้าสมัยเร็ว ต้องลงทุนซื้อหรืออัพเกรดเครื่องบ่อยๆ ทำให้สิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย
3.             พนักงานฝีมือดีหายาก เข้าออกบ่อย
                โอกาสและอุปสรรค
                โอกาส
1.             การใช้เครื่องคอมพิวเตอร์มีจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ
2.             เทคโนโลยีด้านคอมพิวเตอร์เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ผู้ใช้ส่วนใหญ่ตามไม่ทันกับเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไป ต้องพึ่งพาผู้เชี่ยวชาญ
3.             ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ ผู้ประกอบกิจการไม่นิยมจ้างโปรแกรมเมอร์ประจำ แต่จะใช้วิธีใช้บริการจากผู้ให้บริการด้านคอมพิวเตอร์ และนิยมใช้บริการจากผู้ให้บริการขนาดเล็ก เพื่อประหยัดค่าใช้จ่าย
                อุปสรรค
1.             ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ ทำให้กำลังซื้อลดลง
2.             มีผู้ประกอบกิจการรายใหม่เกิดขึ้นจำนวนมาก
3.             ผู้ประกอบกิจการบางรายไม่ซื่อสัตย์  ทำให้ผู้ใช้บริการมีทัศนคติที่ไม่ดีต่อ  ผู้ให้บริการ
4.             ผู้ใช้บริการขาดความเชื่อถือผู้ให้บริการขนาดเล็ก

ข้อเสนอแนะ
      ด้านการบริหารจัดการ
1.             ผู้ประกอบกิจการจะต้องมีพื้นฐานความรู้ในธุรกิจให้บริการของตนเองและติดตามความก้าวหน้าและการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นทั้งโดยตรงและโดยอ้อมตลอดเวลา
2.             ผู้ประกอบกิจการต้องมีความเป็นผู้นำและมีพื้นฐานความรู้ด้านการบริหารจัดการ
3.             สร้างองค์กรในลักษณะสถาบัน ไม่ยึดติดในตัวบุคคล  และบริหารจัดการอย่างเป็นระบบ
4.             ให้ความสำคัญกับการสรรหาและฝึกอบรมพัฒนาบุคลากร
5.             ให้ผลตอบแทนที่เป็นธรรมแก่พนักงานทุกระดับ และมีระบบสิ่งจูงใจที่เหมาะสม
6.             สร้างความภาคภูมิใจแก่พนักงานในการเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งขององค์กร
7.             ควรดำเนินการให้ถูกต้องและสอดคล้องกับกฎหมายและระเบียบข้อบังคับภาครัฐ
8.             ควรจัดทำแผนธุรกิจ(Business Plan)เพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินธุรกิจอย่างมี ทิศทางและเหมาะสมสอดคล้องกับปัจจัยทั้งภายในและภายนอกองค์กร
9.             เจ้าของหรือผู้ประกอบกิจการจะต้องให้ความสำคัญและให้เวลากับการบริหารธุรกิจอย่างใกล้ชิด
                ด้านการตลาด
                                                การบริการและสถานที่ให้บริการ
                                การบริการ
1.             ให้บริการที่รวดเร็ว และตรงต่อเวลา แก่ผู้มาใช้บริการ
2.             ให้บริการด้วยความซื่อสัตย์ จริงใจ ยืดหยุ่น และเป็นกันเองกับผู้มาใช้บริการ
3.             สร้างตราหรือเครื่องหมายที่เป็นสัญลักษณ์เพื่อให้ลูกค้าระลึกและจดจำได้ง่าย และยังเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาเป็นระบบแฟรนไชส์ในอนาคต
4.             สร้างมาตรฐานด้านการให้บริการและอัตราค่าบริการ
                                                สถานที่ให้บริการ
1.             ใช้เครื่องมือและอุปกรณ์การให้บริการที่ทันสมัย ดูแลรักษาให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน
2.             เลือกทำเลที่ตั้งให้เหมาะสม สะดวกต่อการเดินทางมาติดต่อและอยู่ใกล้กลุ่มลูกค้าเป้าหมาย
                                                การส่งเสริมการขาย
1.             ทำป้ายโฆษณาหน้าสถานที่ให้บริการให้สะดุดตาและสามารถสื่อความหมายที่ดีต่อกลุ่มลูกค้า   เป้าหมาย
2.             ลงโฆษณาในสื่อที่สามารถเข้าถึงกลุ่มลูกค้าเป้าหมายด้วยต้นทุนที่ต่ำ
3.             ทำโบชัวร์ แผ่นพับ และเอกสารอื่นๆเพื่อเผยแพร่และแนะนำบริการ เพื่อแจกจ่ายยังกลุ่มลูกค้า   เป้าหมาย
                ด้านบัญชีและการเงิน
1.             พยายามลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นและไม่สร้างภาระค่าใช้จ่ายในลักษณะเป็นค่าใช้จ่ายประจำมากเกินไป
2.             มีโครงสร้างเงินทุนที่เหมาะสม ไม่ก่อภาระหนี้มากเกินไป ทั้งในและนอกระบบ เนื่องจากจะมีภาระในการจ่ายดอกเบี้ยและผ่อนชำระคืนเงินกู้
3.             บริหารด้านการเงินอย่างเหมาะสมเพื่อให้ธุรกิจมีสภาพคล่องทางการเงินสูง
4.             พยายามนำกำไรจากการดำเนินงานมาเป็นเงินทุนสำรองหรือใช้สำหรับการขยายธุรกิจ ไม่นำไปใช้ส่วนตัว หรือลงทุนในสินทรัพย์ที่ไม่ก่อรายได้ หรือในลักษณะเก็งกำไร
5.             ให้มีการแยกบัญชีและการเงินระหว่างของธุรกิจและส่วนตัวออกจากกันเพื่อให้สามารถควบคุมค่าใช้จ่ายของแต่ละฝ่ายและสามารถวิเคราะห์ผลการดำเนินงานของธุรกิจได้อย่างถูกต้องและจัดทำระบบข้อมูลเพื่อการบริหารงาน
6.             ควรจัดทำงบการเงินให้ถูกต้อง ไม่ควรจัดทำงบ 2 ชุด เพื่อหวังผลในการหลีกเลี่ยงภาษี นอกจากจะเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมายแล้ว ยังทำให้สูญเสียโอกาสในการขอรับสินเชื่อจากสถาบันการเงิน หรือการหา       ผู้ร่วมทุน
7.             การนำระบบคอมพิวเตอร์และโประแกรมสำเร็จรูปทางบัญชีและอื่นๆมาช่วยในการทำงานเพื่อเพิ่มประสิทธิ-ภาพในการทำงานและลดค่าใช้จ่ายด้านแรงงาน                      
                                               
ขอรายละเอียดข้อมูลผ่านเครื่องโทรสาร หรือติดต่อสำนักส่งเสริมและพัฒนาธุรกิจ
โทร 0-2547-5954-5  โทรสาร 0-2547-5954

ตัวอย่าง  รายละเอียดเงินลงทุนของธุรกิจบริการด้านคอมพิวเตอร์
กด 1          รายการ                         จำนวนเงิน(บาท)
ค่าตกแต่งอาคารสำนักงาน                                        67,000
เฟอร์นิเจอร์และเครื่องใช้สำนักงาน           
   - ชุดรับแขก                                                      3,600
   - โต๊ะ/เก้าอี้                                                    15,000
   - ตู้เอกสาร/ตู้โชว์                                               11,000
   - เครื่องปรับอากาศ                                             63,000
   - โทรทัศน์                                                     11,000
   - ตู้เย็น                                                          6,000
   - เครื่องโทรสาร                                                  9,600
   - เครื่องโทรศัพท์                                               13,000
   - เครื่องคิดเลข                                                    2,000
   - เฟอร์นิเจอร์อื่นๆ                                              16,000
              รวม                                                   217,200
ค่าเครื่องมือสำหรับการให้บริการ             
   - เครื่องคอมพิวเตอร์                                            27,000
   - เครื่องพิมพ์ (Printer)                                          22,000
   - เครื่องสแกนเนอร์(Scanner)                                      4,600
   - โต๊ะคอมพิวเตอร์                                             14,000
   - ไขควง/เครื่องวัดไฟ                                                400
   - อื่นๆ                                                        57,000
               รวม                                                 125,000
   เงินทุนหมุนเวียน                                            320,000
          รวมเงินลงทุนทั้งหมด                                     662,200
ที่มา  ประมาณการจากการสัมภาษณ์ผู้ประกอบกิจการจำนวน 10 ราย ในช่วงเดือนธันวาคม
         พ.ศ.2543-มกราคม พ.ศ.2544 และปรับรายการลงทุนซึ่งผู้ประกอบกิจการส่วนใหญ่
         ไม่ได้ลงทุนและมีความจำเป็นต่ำออก
                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                    


ตัวอย่าง  รายละเอียดรายรับ - รายจ่าย ของธุรกิจบริการด้านคอมพิวเตอร์
รายการ                                                  จำนวนเงิน(บาท)
รายรับ                                                                   1,606,800
รายจ่าย                                                 
   - เงินเดือนพนักงาน                                                         610,200
   - ค่าเช่าสถานที่                                                              96,720
   - ค่าเช่าเครื่องมืออุปกรณ์                                                      67,200
   - ค่าวัสดุสิ้นเปลือง                                                           98,760
   - ค่าน้ำมัน                                                                   20,400
   - ค่าน้ำประปา                                                                1,524
   - ค่าไฟฟ้า                                                                  43,920
   - ค่าโทรศัพท์                                                               44,760
   - ดอกเบี้ย                                                                    1,200
   - ค่าธรรมเนียมธนาคาร                                                           240
   - ค่าประกันภัย                                                                1,100
   - ค่าภาษีต่างๆ                                                                4,600
   - ค่าทำบัญชี                                                                  7,500
   - ค่าใช้จ่ายเบ็ดเตล็ด                                                        254,400
   - ค่าเสื่อมราคาและค่าใช้จ่ายตัดจ่าย                                          104,339
               รวม                                                            1,356,863
กำไรก่อนหักภาษีเงินได้                                                     249,937
หัก ภาษีเงินได้(30%)                                                          74,981
กำไร (ขาดทุน)สุทธิ                                                         174,956
ที่มา  ค่าเฉลี่ยจากผลประกอบการปี พ.ศ.2543 ของผู้ประกอบกิจการจำนวน 10 ราย
          ซึ่งได้จากการสัมภาษณ์ในช่วงเดือนธันวาคม พ.ศ.2543-มกราคม พ.ศ.2544

ตัวอย่าง  การคำนวณราคา ผู้ประกอบกิจการให้บริการเช่าเล่นอินเตอร์เน็ตรายหนึ่งลงทุนเช่าอาคารพาณิชย์ 2 ชั้น 1 คูหา อายุสัญญาเช่า 3 ปี ค่าเช่าเดือนละ 12,000 บาท มีเครื่องคอมพิวเตอร์ให้บริการ 15 เครื่อง และมีรายละเอียดต่างๆ ดังนี้

1.     ต้นทุนคงที่
1.1  ต้นทุนคงที่ที่เป็นตัวเงิน (ต่อปี)
(1) ค่าเช่าอาคาร                                  =              144,000                 บาท
(2) เงินเดือนพนักงานประจำ                        =              180,000                 บาท
(3) ค่าไฟฟ้า                                      =                42,000                 บาท
(4) ค่าน้ำประปา                                  =                  7,200                  บาท
(5) ค่าโทรศัพท์                                   =                36,000                 บาท
(6) ค่าลิขสิทธิ์                                    =                50,000                 บาท
(7) ค่าภาษี                                       =                  1,000          บาท
        รวม                                    =              460,200         บาท
1.2  ต้นทุนคงที่ที่ไม่เป็นตัวเงิน
(1)         ค่าตกแต่งสถานที่ 50,000 บาท
คิดค่าเสื่อมราคาร้อยละ 20                                          =            10,000                     บาท
                                (2)  ค่าเฟอร์นิเจอร์และเครื่องใช้สำนักงาน 132,000 บาท
                                       คิดค่าเสื่อมราคาร้อยละ 20                                           =            26,400                     บาท
(3)  ค่าเครื่องมืออุปกรณ์ 727,000 บาท
คิดค่าเสื่อมราคาร้อยละ 20                                          =         145,400                      บาท
                                                รวม                                                                         =         181,800                      บาท

                                                รวมต้นทุนคงที่ทั้งหมด                                        =         642,000                      บาท

2.     ประมาณการจำนวนชั่วโมงที่ให้บริการ
2.1 ในเวลา 1 วันสามารถให้บริการได้                                      =                  180                     ชั่วโมง
      (ให้บริการเฉลี่ยเครื่องละ 12 ชั่วโมง)
2.2 ในเวลา 1 ปี(360 วัน)สามารถให้บริการได้                        =             64,800                    ชั่วโมง
2.3 ประมาณการมีผู้มาใช้บริการ 70%                                      =           45,360                      ชั่วโมง
     
                3.   ต้นทุนคงที่จัดสรรต่อชั่วโมง                        =  642,000             =           14.15                        บาท
                                                                                                     45,360

                            4.   ต้นทุนผันแปร ได้แก่
                  ค่าเวลาการใช้อินเตอร์เน็ตจากผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตต่อชั่วโมง =            10                 บาท
                       ต้นทุนผันแปรเฉลี่ยต่อชั่วโมง                                                              =            10                    บาท

                5. ต้นทุนทั้งหมดต่อชั่วโมง       =   14.15 + 10                                          =       24.15                   บาท

                6. ผู้ประกอบกิจการต้องการกำไรร้อยละ 20 ของ ต้นทุนทั้งหมด          =         4.83                    บาท       

7. ผู้ประกอบกิจการตั้งราคาให้บริการต่อชั่วโมง =  24.15  +  4.83        =       28.98                   บาท
                                                                                หรือประมาณ                                 =             30  บาท/ชั่วโมง



2.แนวทางประกอบอาชีพทางด้านคอมพิวเตอร์

การประกอบอาชีพทางด้านคอมพิวเตอร์ ปัจจุบันคอมพิวเตอร์ได้เข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวัน และทั้งในสถานที่ทำงานราชการ ตลอดจนธุรกิจเอกชนต่างๆ อย่างมากมาย จนทำให้บุคลากรทางด้านคอมพิวเตอร์เป็นที่ต้องการของหน่วยงานจำนวนมาก สำหรับงานอาชีพที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์ สามารถจัดได้ต่อไปนี้
1.พนักงานคอมพิวเตอร์ (Key Operator) หมายถึง พนักงานปฎิบัติการคอมพิวเตอร์ซึ่งทำหน้าที่ควบคุมการปฎิบัติงานของเครื่องคอมพิวเตอร์
2.พนักงานเตรียมข้อมลู (Data Entry) หมายถึง พนักงานที่ทำหน้าที่จัดเตรียมข้อมลูเพื่อทำการป้อนและบันทึกข้อมูล
3.บรรณารักษ์คอมพิวเตอร์ (Libralian Computer) หมายถึง พนักงานที่ทำหน้าที่เก็บรักษาและรวบรวมสื่อประเภทต่างๆ ของเครื่องคอมพิวเตอร์ได้อย่างมีระบบระเบียบ และสามารถนำมาใช้ได้อย่างสะดวกรวดเร็วปลอดภัย เช่น สื่อประเภท Diskette, Magnetic Tape, Magnetic Disk และแผ่น CD เป็นต้น
4.ผู้เขียนโปรแกรม (Programmer) คือผู้ที่พัฒนาโปรแกรมขึ้นมาใช้ตามความต้องการ เช่น โปรแกรมจ่ายเงินเดือน โปรแกรมคิภาษี โปรแกรมตรวจสอบสินค้า สำหรับโปรแกรมที่มีวางขายในท้องตลาด คอมพิวเตอร์โดยทั่วไป เราเรียกว่า โปรแกรมสำเร็จรูป (Package Program)
5.นักวิเคราะห์ระบบ (System Analysis) คือผู้ที่ทำหน้าที่วางระบบงานทางด้านคอมพิวเตอร์ให้เหมาะสมของแต่ละหน่วยงาน ว่าควรวางระบบในงานทำงานอย่างไร ใช้คอมพิวเตอร์ประเภทใดให้สอดคล้องกับความต้องการความจำเป็นในการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ของแต่ละหน่วยงานนั้นได้ถูกต้องและประหยัด เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
6.นักบริหารทางด้านคอมพิวเตอร์ มีหน้าที่ควบคุมบริหารงานและรับผิดชอบการปฏิบัติงานในสายงานคอมพิวเตอร์ให้มีประสิทธิภาพ และเกิดการประหยัดในการใช้ทรัพยากร
7.ครู-อาจารย์สอนคอมพิวเตอร์ มีหน้าที่เป็นครูอาจารย์ที่สอนอยู่ในสถานศึกษาต่าง ๆ ทั้งสถานศึกษาของรัฐบาลและสถานศึกษาเอกชน รวมทั้งสถานศึกษาคอมพิวเตอร์ที่เปิดสอนเป็นหลักสูตรพิเศษต่าง ๆ ด้วย ซึ่งปัจจุบันมีนักเรียนนักศึกษา รวมทั้งบุคคลทั่วไปให้ความสนใจในการเรียนทางด้านคอมพิวเตอร์กันมากขึ้น เนื่องจากเห็นประโยชน์จากการใช้คอมพิวเตอร์
8.เจ้าของธุรกิจคอมพิวเตอร์ ได้แก่ ผู้ประกอบการอาชีพเป็นเจ้าของกิจการจำหน่ายเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งซอฟต์แวร์ต่าง ๆ
9.พนักงานขายคอมพิวเตอร์ คือ ผู้ที่ทำหน้าที่เป็นตัวแทนจำหน่ายเครื่องคอมพิวเตอร์ให้แก่บริษัทจำหน่ายเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยมีผลตอบแทนเป็นเงินเดือนและค่าคอมมิชชั่น ซึ่งจะต้องมีความรู้ความสามารถทางด้านคอมพิวเตอร์เป็นอย่างดี เนื่องจากจะต้องเป็นผู้ที่ตอบข้อซักถามของผู้ซื้อได้อย่างถูกต้อง และสาธิตการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ให้เป็นที่พอใจของลูกค้า
10.การเปิดร้านบริการให้เช่าเครื่องคอมพิวเตอร์ บริการอินเทอร์เน็ตให้แก่ลูกค้า Internet Cafe
11.การรับพิมพ์งานและนามบัตรด้วยคอมพิวเตอร์ ซึ่งปัจจุบันจะมีการให้บริการตามห้างสรรพสินค้า และเปิดบริการตามชุมชนทั่วไป
12.พนักงานซ่อมคอมพิวเตอร์ มีหน้าที่ซ่อมแซม ปรับแต่งเครื่องคอมพิวเตอร์ ปรับแต่งเครื่องคอมพิวเตอร์ให้สามารถใช้งานได้
จะเห็นได้ว่าอาชีพทางด้านคอมพิวเตอร์มีมากมาย สามารถที่จะได้เลือกตามความรู้ความสามารถของตนเอง ซึ่งแต่ละอาชีพจะได้ผลตอบแทนที่แต่ต่างกันไป

แบบฝึกหัดหน่วยที่ 1

1. ข้อใดคือความหมายของธุรกิจคอมพิวเตอร์
 ก. กระบวนการดำเนินงานทางธุรกิจด้านคอมพิวเตอร์
 ข. สินค้าด้านคอมพิวเตอร์ทั้งฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ได้รับการจัดสรร เพื่อก่อให้เกิดความพึงพอใจต่อลูกค้า
 ค.คือกระบวนการที่ใช้บุคคลหรือทรัพยากรของหน่วยงาน
 ง.คือกิจกรรมที่ดำเนินการโดยบุคคลหรือกลุ่มบุคคล เพื่อก่อให้เกิดรายได้โดยมุ่งหวังกำไร

2. ข้อใดไม่ใช่วัตถุประสงค์ในการวางแผนการตลาด
  ก.สำรวจช่องทาการตลาด เพื่อสร้างผลตอบแทนให้คุ้มค่า
  ข. เพิ่มประมาณธุรกิจที่ได้จากการคาดการณ์จากความน่าจะเป็น
  ค. ประเมินโอกาส และปรับเปลี่ยนกลยุทธ์การตลาดในระยะยาว
  ง.กำหนดตลาดเป้าหมายของธุรกิจด้านคอมพิวเตอร์

3. แผนการขายสามารถแบ่งได้กี่ขั้นตอน
ก.  1 ขั้นตอน
ข. 4 ขั้นตอน
ค. 3 ขั้นตอน
ง. 2 ขั้นตอน

4. จุดมุ่งหมายของการเสนอขายคือข้อใด
ก. เตรียมข้อมูลในการเสนอลูกค้า
ข.ถูกทุกข้อ
ค.ชักจูงลูกค้าสู่กระบวนการซื้อ
ง. การเตรียมข้อมูลของพนักงานขายที่จะเสนอต่อลูกค้า

5. ข้อใดจัดว่าเป็นแหล่งเงินทุนส่วนของเจ้าของ
ก.  การลงทุนในสินทรัพย์ถาวร
ข.ธนาคาร
ค. เพื่อนและญาติ
ง.สถาบันการเงิน

6. แหล่งลงทุนที่สำคัญมาจากแหล่งใดบ้าง
 ก. แหล่งเงินทุนจากธนาคารและสถาบันการเงิน
 ข. ถูกทุกข้อที่กล่าวมา
 ค. แหล่งเงินทุนจากธนาคารพาณิชย์
 ง. เงินทุนของส่วนของเจ้าของ

7. IFCT เป็นชื่อย่อของอะไร
 ก. บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
 ข.บริษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
 ค.สำนักงานธนกิจอุตสาหกรรมขนาดย่อม
 ง. ธนาคารแห่งประเทศไทย

8. แหล่งเงินทุนนอกระบบ คือแหล่งเงินทุนชนิดใด
 ก. แหล่งเงินทุนเพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์
 ข. เงินทุนจากรัฐวิสาหกิจ
 ค. แหล่งเงินทุนที่กู้มาจากส่วนราชการ
 ง. แหล่งเงินทุนที่ทางราชการไม่สามารถควบคุมได้ อาศัยความสมัครใจระหว่างผู้กู้กับผู้ให้กู้โดยตกลงกันเอง

9. ผู้ประกอบการมีความหมายตรงกับข้อใด
  ก.ผู้จัดตั้งสมาคมหรือมูลนิธิเพื่อสาธารณะประโยชน์
  ข. คณะบุคคลที่ร่วมมือจัดตั้งองค์การธุรกิจโดยไม่หวังผลกำไร
  ค. ถูกทุกข้อ
 ง.บุคคลที่มีความคิดที่จะทำธุรกิจและเป็นผู้จัดตั้งองค์การธุรกิจขึ้นมา

10. ข้อใดคือคุณสมบัติที่สำคัญของผู้ประกอบการที่จะประสบผลสำเร็จ
  ก.รับข้อเสนอ ข้อเรียกร้องต่างๆ จากลูกค้าไว้พิจารณา
  ข. มีเงินทุนเพียงพอ
  ค.มารติดต่อสื่อสารกับลูกค้าสม่ำเสมอ
  ง.ความสามารถและความคิดริเริ่มสร้างสรรค์

11. บุคคลหรือทัพยากรทางธุรกิจที่มีอยู่ได้แก่อะไรบ้าง
 ก. เงิน
 ข. ถูกทุกข้อ
 ค. คน
 ง. วัสดุอุปกรณ์

12. Prospecting มีความหมายว่าอย่างไร
ก. การสรรหาลูกค้ามุ่งหวัง
ข.การเตรียมการขาย
ค. การติดตามผลภายหลังการขาย
ง. การเสนอขาย

13. การเตรียมการขายในภาษาอังกฤษเขียนได้อย่างไร
ก.  Preparation
ข.presentation
ค. Postsale Support
ง. Prospecting

14. หัวใจสำคัญที่สุดของแผนการขาย สามารถจัดได้กี่ขั้นตอน
 ก.  2
 ข.3
 ค. 5
 ง.4

15. แหล่งเงินทุน (Source of Funds) มาจากกี่แหล่ง
  ก.2
 ข. 3
 ค. 4
 ง.1